วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561


เป้าหมายทุกเรื่อง ถ้าต้องการให้สำเร็จเร็ว จง "อย่ายึด"
-ยิ่งยึดยิ่งไม่ได้ ยิ่งไม่ยึดยิ่งได้ ยึดเท่าไหร่ๆ ก็จะไม่ได้เท่านั้นๆ
-ยิ่งยึดยิ่งพร่อง ยิ่งยึดยิ่งช้า ยิ่งโง่ ยิ่งทุกข์ เพราะมีวิบากร้าย
-อยากได้ อย่ายึด ถ้ายึด จะไม่ได้
-ยิ่งยึดยิ่งโง่
-ยิ่งยึด เป้าหมายยิ่งสำเร็จช้า ทั้งทางโลกและทางธรรม
-ยิ่งไม่ยึด เป้าหมายยิ่งสำเร็จเร็ว ทั้งทางโลกและทางธรรม
-ยึด จะไม่พ้นกลัว จะไม่พ้นทุกข์ จะไม่ได้สุขยั่งยืน แต่ถ้าไม่ยึด จะพ้นกลัว จะพ้นทุกข์ จะได้ความสุขที่ยั่งยืน
-ยึด ทำให้ "ใจเป็นทุกข์" จะมีวิบากร้ายมาทำลาย ทำให้ไม่สำเร็จหรือสำเร็จช้าหรือสำเร็จเร็วแต่มีเรื่องร้าย เป็นบาป มีวิบากร้ายเจือ ก็ไม่สมบูรณ์ จะสำเร็จความผาสุกทางจิตวิญาณที่ยอดเยี่ยมยั่งยืนช้าที่สุด ทำให้เกิดการบาดเจ็บปวดร้าวทางจิตวิญญาณได้มากที่สุด และเป็นพลังที่ทำให้ตนหรือผู้อื่นทำชั่วได้ทุกเรื่อง
-ไม่ยึด ทำให้ "ใจเป็นสุข" มีวิบากดีมาช่วย ทำให้สำเร็จได้เร็ว เป็นบุญที่เต็มที่สุด ไม่มีวิบากร้ายเจือ จะสำเร็จเร็วที่สุด สมบูรณ์ที่สุด ไม่เกิดการบาดเจ็บปวดร้าวทางจิตวิญญาณ และเป็นพลังที่ทำให้ตนหรือผู้อื่นทำสิ่งดีได้ทุกเรื่องเมื่อถึงเวลาอันควร เป็นบุญกุศลสูงสุด
-ต้องไม่ยึดให้ได้ "จึงจะได้"
อาจารย์หมอเขียว
ดร.ใจเพชร กล้าจน
14 มกราคม 2561
@ทุกอย่างทุกการกระทำมีคลื่นแม่เหล็กที่เหนี่ยวนำให้ผู้อื่นเป็นตาม คลื่นที่ดีจะเติมเต็มกันทั้งหมด คลื่นที่ร้ายก็เติมเต็มกันทั้งหมด
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ธรรมทั้งหลาย ย่อมหลั่งไหลสู่ธรรมทั้งหลาย" (พระไตรปิฎก เล่ม 24 ข้อ 2)
ดังนั้น น้ำย่อมไหลไปสู่น้ำ น้ำมันย่อมไหลไปสู่น้ำมัน
การทำทุกข์ทับถมตน จะไปเติมสนามแม่เหล็กแห่งความทุกข์ในตนและผู้อื่น มีพลังเหนี่ยวนำให้คนอื่นรู้สึกทุกข์ตาม จะทุกข์ไปทำไม ทำชั่วทำทุกข์ทำบาปซ้ำซ้อนไปทำไม
อย่าเอาทุกข์มาทำทุกข์
อย่าเอาทุกข์มาทำพลาด
อย่าเอาพลาดมาทำพลาด อย่าเอาพลาดมาทำทุกข์
จงเอาทุกข์เอาพลาด
มาสร้างสรรพฤติกรรมที่ดีงามผาสุกและเหมาะควรยิ่งๆขึ้นไป
อันเป็นคุณค่าประโยชน์สูงสุดต่อตนและมวลมนุษยชาติ
อาจารย์หมอเขียว
ดร.ใจเพชร กล้าจน
14 มกราคม 2561
@เมตตา คือกัมมัญญา คือชอบในประโยชน์ ชอบในการทำให้เกิดประโยชน์ เป็นสภาพยึดอาศัย คือสมาทาน คือยินดีเพียร ส่วนอุเบกขา คือปภัสรา คือยินดีวาง คือยินดีพัก
-พระอรหันต์เหลือแต่ชอบ กับไม่ชอบไม่ชัง ชอบในประโยชน์เพื่อยึดอาศัย กับชอบในความไม่ยินดียินร้ายเพื่อปล่อยวาง
-ล้างชอบชังมาสู่ความยินดีในการไม่ชอบไม่ชังในสิ่งต่างๆให้ได้ ก็จะได้รางวัลอันยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุดในจักวาล คือจะสามารถชอบทุกสิ่งทุกอย่างในมหาจักรวาลได้ เพราะจะมีปัญญาหาเอาประโยชน์ได้ในทุกสิ่งทุกอย่างอย่างถูกหลักการของบุญกุศล ใจจึงเป็นสุขได้ตลอดเวลา
สิ่งดีๆ หรือการทำดี ก็ยึดอาศัยด้วยใจที่เป็นสุขเพราะเป็นประโยชน์
แม้เลี่ยงไม่ออกที่ต้องประสบกับสิ่งร้ายก็ยังมีปัญญาเอาประโยชน์ได้อย่างถูกหลักการของบุญกุศล ใจจึงเป็นสุข
และเมื่อเพียรทำดีที่ทำได้อย่างเต็มที่แล้วถึงเวลาอันเหมาะควรที่ควรวางก็วางได้ด้วยใจที่เป็นสุขเพราะเข้าใจเรื่องกรรมดีกรรมชั่วอย่างแจ่มแจ้ง จึงชอบหรือยินดีในการปล่อยวางให้เป็นไปตามสัจจะคือวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต จึงอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใสสุขสบายใจที่สุดในโลกอย่างยั่งยืน
อาจารย์หมอเขียว
ดร.ใจเพชร กล้าจน
14 มกราคม 2561
ต้องเข้าใจเรื่องกรรมดีกรรมชั่วอย่างแจ่มแจ้งจึงจะล้างชอบชังได้ เมื่อเข้าใจเรื่องกรรมดีกรรมชั่วอย่างแจ่มแจ้งแล้ว ให้ทำ 3 ขั้นตอนคือ
1. ล้างชอบชัง
2. วางความยึดมั่นถือมั่นให้สิ้นเกลี้ยง ว่าสิ่งดีร้ายใดๆจะเกิดจะดับก็ได้ตามวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต
3. แล้วจึงจะยึดก็ได้ วางก็ได้ สบายใจจริง คือยึดอาศัยประโยชน์ในสิ่งต่างๆไม่ว่าจะดีหรือร้าย และวางเมื่อสิ่งนั้นดับไป วางในการทำสิ่งชั่ว ยึดทำดีที่ฟ้าเปิด (สัปปายะ) คือเส้นทางโปร่งโล่งหรือมีอุปสรรคบ้างแต่พอลุยไปได้ ไม่ทำดีหรือวางดีที่ฟ้าปิด (อัตตกิลมถะ) คือ เส้นทางฝืดฝืนเกิน ลำบากเกิน ทรมานเกิน เสียหายเกิน แตกร้าวเกิน
-รู้ไตรลักษณ์ (ความไม่เท่ี่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน) ที่ลึกซึ้งคือรู้จนถึงระดับวิบากกรรม รู้เหตุแห่งทุกข์คือชอบชัง รู้ผลของทุกข์อันเกิดจากชอบชังคือถ้าได้สมชอบชังก็ได้สุขปลอมสุขเทียมเก็บไม่ได้แค่เคยจำไม่มีสาระ รู้ชัดว่าชอบชังจะสั่งสมเป็นวิบากร้ายไล่ล่าโหมกระหน่ำนำความกลัว โรคและเรื่องร้ายมาให้ตนและผู้อื่นตลอดเวลา
-ต้องรู้นามรูป แยกเวทนา 2 ให้ได้
1. ต้องรู้รูปของนามที่ชัดที่สุดคือความรู้สึกสุขทุกข์ในใจว่ากลัวหรือไม่กลัว ทุกข์หรือไม่ทุกข์ เบิกบานหรือไม่เบิกบาน เพราะใจเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง ถ้าใจทุกข์ก็เป็นทุกข์ที่ทุกข์ที่สุดในโลก ถ้าพบทุกข์ใจก็แก้ด้วยการพิจารณาไตรลักษณ์ของกิเลสและประโยชน์ของการไม่มีกิเลส
2. อาการทางร่างกาย สบายหรือไม่สบายกาย ซึ่งก็จะไม่แรงเท่าทุกข์ในจิตที่ยึดมั่นถือมั่น ถ้าพบทุกข์ทางกาย ก็แก้ไขด้วยปรับสมดุลร้อนเย็นหรือวิธีการอื่นๆที่เหมาะสม
ส่วนทุกข์เพราะเหตุการณ์ต่างๆ ถ้าพบปัญหาก็แก้ปัญหาไปตามสถานการณ์
การแก้ทุกข์ทั้งหมดก็ทำควบคู่ไปกับการบำเพ็ญกุศลช่วยเหลือผู้อื่น
-ทุกข์ย่อมไม่ตกถึงผู้ที่เข้าใจ เชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง
-ผู้ที่เข้าใจ เชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง จะเอาทุกข์มาแต่ไหน
-กลัว ชั่ว ทุกข์ คือ โง่
-ปัญญาที่ยังไม่เชื่อ ไม่ชัด ไม่เข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง จึงยังโง่อยู่ ชั่วอยู่ ทุกข์อยู่
-ความเข้าใจในเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง เป็นรหัสเป็นปัญญาที่จำเป็นที่สุด สำคัญที่สุด มีฤทธิ์ที่สุดในการดับทุกข์ ในการคลายความยึดมั่นถือมั่น ในการเข้าสู่ความผาสุกที่แท้จริง
-ความเชืี่อความชัดเรื่องกรรมเท่านั้นจึงจะคลายความยึดมั่นถือมั่นได้
-ความไม่เชื่อไม่ชัดเรื่องกรรมทำให้ยึดมั่นถือมั่นทำให้เป็นทุกข์ ส่วนความเชื่อความชัดเรื่องกรรมทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่นทำให้เป็นสุข
-โศลกพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ที่กล่าวว่า "ทำดียังไม่ได้ดี เพราะทำดียังไม่มากพอ" มี 2 ความหมาย
1. ทำดียังน้อยอยู่
2. ทำดียังไม่บริสุทธิ์มากพอจนถึงขั้นล้างความชอบชัง ล้างความยึดมั่นถือมั่นได้ (อโยนิโสมนสิการ-ยังทำการล้างเหตุแห่งทุกข์ไม่แยบคายจนถึงจิตที่ถูกตรง)
อาจารย์หมอเขียว
ดร.ใจเพชร กล้าจน
14 มกราคม 2561

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น