วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เก่งศีลเป็นสุข


@ เก่งศีลเป็นสุข ไม่เก่งศีลเป็นทุกข์
@ ไม่เก่งศีล แต่ยิ่งเก่งงาน ยิ่งเก่งวิชาการ ยิ่งทุกข์ ยิ่งชั่ว ยิ่งโง่
@ เก่งแต่งาน เก่งแต่วิชาการ แต่ไม่เก่งศีล จะเอาสุขมาแต่ไหน มีแต่ทุกข์เท่านั้นเป็นที่ไป
@ เก่งศีล แม้จะเก่งหรือไม่เก่งงาน จะเก่งหรือไม่เก่งวิชาการ ก็เป็นสุขแท้ๆ ดีแท้ๆ อย่างมั่นคงยั่งยืน และ ถ้าเก่งศีลอย่างต่อเนื่อง มั่นคงยั่งยืน ถึงที่สุดก็จะทำให้เก่งทั้งศีล เก่งทั้งงาน และเก่งทั้งวิชาการอย่างมั่นคงยั่งยืนตลอดกาลนาน เป็นสุขแท้ๆ ดีแท้ๆ อย่างมั่นคงยั่งยืนตลอดกาลนาน
@ ต้องเก่งศีล ก่อนเก่งงานและวิชาการ จึงจะเป็นสุขได้ แต่ถ้าเก่งงานหรือวิชาการก่อนโดยไม่เก่งศีล จะไม่มีทางเก่งศีลได้และจะไม่มีทางพ้นทุกข์ได้ ไม่มีทางพบกับความผาสุกที่แท้จริงของชีวิตได้ เพราะกิเลสจะเอาความเก่งงานหรือเก่งวิชาการ ไปทำผิดศีล ไปเสพชั่วหรือเสพดีให้สมใจ สั่งสมเป็นกิเลส ความติดชั่วหรือติดดีให้มากยิ่งขึ้นๆ เกิดทุกข์ เพราะกลัวว่าจะไม่ได้เสพสมใจ วันที่ วิบากร้ายออกฤทธิ์ จะไม่ได้เสพชั่วหรือดีให้สมใจก็จะทุกข์ ซ้ำเข้าไปอีก และทำชั่วได้ทุกเรื่อง ทั้ง ยังเหนี่ยวนำให้ผู้อื่นรู้สึกแบบนั้นตาม ทำแบบนั้นตาม สั่งสมเป็นวิบากร้ายต่อตนเองและผู้อื่น จึงทำให้ชีวิตของตนเองและผู้อื่นที่มีกิเลส ผิดศีล ทุกข์ ชั่ว และโง่
@ คนที่เกิดมาแล้วเก่งงานหรือเก่งวิชาการ แต่สามารถเรียนรู้และปฏิบัติศีลได้นั้น เป็นเพราะได้เรียนรู้และปฏิบัติศีลมาตั้งแต่ชาติก่อน ชาตินี้จึงมาเรียนรู้และปฏิบัติศีลเพิ่มเติมจากชาติก่อน
@ ปัญญาศีลยอดเยี่ยมกว่าปัญญาทราม
@ ปัญญาศีลนั้นยอดเยี่ยม ส่วนปัญญาทรามนั้นยอดแย่
@ ปัญญาพาผิดศีลเป็นปัญญาทราม ปัญญาพาถูกศีลเป็นปัญญาสูง ปัญญาประเสริฐ
@ ปัญญาพาถูกศีลนั้น ชั่วไม่ทำ ทำแต่ดีที่ทำได้อย่างรู้เพียรรู้พัก ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น เพราะเข้าใจเรื่องกรรมดีกรรมชั่วของเราและแต่ละชีวิตอย่างแจ่มแจ้ง จึงไม่มีวิบากร้าย มีแต่วิบากดี ทำให้อิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใสตลอดกาลนาน

อาจารย์หมอเขียว
ดร.ใจเพชรกล้าจน
27 มกราคม 2561

ประวัติของพระโมคคัลลา


ประวัติของพระโมคคัลลาทำให้เข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง และทำให้ซาบซึ้งและหมดสงสัยกับประโยคนี้...
"ทำร้ายเขามาตั้งมากตั้งมาย ยังมีหน้ามาโกรธมาเกลียดเขาอีก มันชั่วเกินไปแล้วเรา"
ก่อนมาเจอพุทธะ ชีวิตทุกชีวิตที่หลงโง่เกิดมา ได้พลาดทำชั่วมานับน้ำตา 4 มหาสมุทร พอมาเจอพุทธะก็ต้องล้างให้หมดในกิเลสที่ได้สั่งสมมา และทุกวิบากชั่วที่ทำมาก็ต้องรับหรือ สร้างวิบากดีดันออกไปให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ประวัติของพระโมคคัลลา อัครสาวกเบื้องซ้าย
ตอนที่ถูกโจรสับเป็นชิ้นๆ ท่านก็ไปลาพระพุทธเจ้าแล้วท่านก็ยอมตายยอมให้โจรฆ่าตาย
เป็นที่กล่าวขานกันไปทั่วว่า "ไม่น่าเลย เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ไม่น่าจะถูกฆ่าตายเลยๆ มันไม่สมเลยไม่เหมาะสมเลยเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายแล้วถูกฆ่าตาย ไม่เหมาะสมเลยๆ" คนก็พูดโจษจันไปทั่ว
พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ใช่ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายนี่ไม่เหมาะเลยที่จะถูกฆ่าตาย แบบนี้ แต่ที่พระโมคคัลลาโดน "เหมาะสมแล้วกับวิบากเก่าที่ทำมา"
กับวิบากใหม่ที่ทำกับความดีที่ทำร่วมกับพระพุทธเจ้านี่ไม่เหมาะสมเลย ไม่ได้เหมาะสมเลยที่จะถูกโจรฆ่าตายอย่างนี้
แต่เหมาะสมแล้วกับ "วิบากเก่าที่ทำมา" สิ่งร้ายที่พระโมคคัลลาได้รับ ไม่ได้เกิดจากการบำเพ็ญเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย แต่เกิดจากการทำไม่ดีมาในชาติก่อนๆ
เพราะจากประวัติของพระโมคคัลลาสมัยไกลลิบๆๆๆๆๆๆๆ นับล้านปีไม่ถ้วน อดีตชาติของท่าน
ท่านได้ดูแลพ่อแม่ที่ตาบอดๆ พ่อแม่ก็อยากให้ท่านมีภรรยา
จึงไปหาภรรยามาให้ ภรรยามาดูแลพ่อแม่ที่ตาบอดนานเข้าๆ ก็เกิดความรำคาญไม่อยากดูแล พอรำคาญมากๆ ก็ยุสามี (พระโมคคัลลา) ให้ฆ่าพ่อแม่ ใส่ร้ายพ่อแม่ต่างๆ นาๆ สามีฯ ก็เชื่อตาม
พระโมคคัลลา หลอกพ่อแม่ว่าจะพาไปเยี่ยมญาติ บอกพ่อแม่ว่าให้ไปทางนี้ๆ เส้นทางตรงไปอย่างนี้ ตนจะคอยอารักขาให้ เพราะได้ข่าวว่ามีโจรร้าย
จากนั้นพระโมคคัลลานะก็ แสร้งทำเป็นโจรแล้วเข้ามาทำร้ายพ่อแม่
-พ่อแม่ก็บอกว่า "ลูกเอ๊ยหนีไปซะ ไม่ต้องห่วงพ่อแม่หรอก พ่อแม่แก่มากแล้ว ปล่อยให้พ่อแม่ตายไปซะ!ไม่เป็นไร ใจรมาแล้ว รีบหนีไป"
-พ่อแม่ก็รักลูกมาก บอกให้ลูกหนีไป ให้ลูกหนีไปซะ ไม่ต้องห่วงพ่อแม่
ก็คือ อดีตชาติของท่านคือหน้ามืดทุบตีพ่อแม่จนตาย ก็เป็นอนันตริยกรรม ต้องตกนรกทุกข์ทรมานแสนสาหัสนับหลายแสนปี
อนันตริยกรรมเป็นกรรมหนัก 5 ประเภท
1.ฆ่ามารดา
2.ฆ่าบิดา
3.ฆ่าพระอรหันต์
4.ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต
5.ทำสงฆ์ให้แตกกัน ทำลายสงฆ์
เศษวิบากของอนันตริยกรรมที่มาถึง ทำให้พระโมคคัลลาต้องถูกฆ่าตาย
ฟังดีๆ...เศษ...วิบาก... ของชาติที่ลิบๆๆๆๆๆๆๆ ที่ได้ชดใช้ไปไม่รู้ตั้งกี่แสนปีแล้ว ใช้วิบากกรรมจนเบาบางถึงได้บำเพ็ญต่อเป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี เป็นอรหันต์แล้วบำเพ็ญโพธิสัตว์ต่อ กว่าจะมาเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายนี่ไม่ใช่ธรรมดานะ ใช้เวลาตั้งหนึ่งอสงไขยกับแสนกัป ไม่รู้กี่ล้านปี นับล้านปีไม่ถ้วน กว่าจะมาเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย เศษ...วิบาก...ยังตามมาไล่ล่า
เพราะฉะนั้น ใครที่รู้สึกว่าตนเป็นคนดี จะได้หมดสงสัยว่า
"ทำไม ฉันก็เป็นคนดี ทำไมฉันต้องมาโดนด้วยๆ"
"คนที่ทำไม่ดีกับฉันต้องเป็นคนไม่ดีต่อฉัน แน่ๆเลย เป็นคนน่าเกลียดน่าชังสำหรับฉัน แน่ๆ เลย"
"ฉันทำดีตั้งมากตั้งมาย แล้วทำไมเขาถึงมาทำไม่ดีกับฉันๆๆ"
คนมีปฏิภาณ จะได้เลิกโทษคนอื่นเสียที ขนาดอัครสาวกเบื้องซ้าย ยังโดนอย่างนั้น เศษวิบากนะ ไม่ใช่ปีที่แล้ว ไม่ใช่ชาติที่แล้ว ไม่ใช่ชาติที่ติดกัน เป็นชาติที่ลิบๆๆๆๆๆๆๆ นับล้านปีไม่ถ้วน
-ใครฟังอันนี้เข้าใจแล้ว จะหมดสงสัยเลย ไม่ต้องไปลุ้นเลยว่าจะไม่มีเรื่องร้ายในชีวิตเรา มันมาแน่ (เพราะเราทำพลาดทำชั่วมานับน้ำตา 4 มหาสมุทร)
-ก็ขนาดพระพุทธเจ้าในปางที่ท่านพลาดทำสิ่งไม่ดีต่างๆ ไม่ใช่ชาติใกล้ๆ นะ ชาติลิบๆๆๆๆๆๆๆ นับล้านปีไม่ถ้วน ระดับพระพุทธเจ้ายังโดนเลย ลิบๆๆๆๆๆๆๆ นับล้านปีไม่ถ้วน
พระโมคคัลลานะก็ลิบๆๆๆๆๆๆๆ นับล้านปีไม่ถ้วน
ลิบๆๆๆๆๆๆๆ นับล้านปีไม่ถ้วน นี่เศษ...วิบาก...นะ ยังโดนเลย
ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจหรอกว่าใครที่มาทำไม่ดีกับเราอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเรารู้สึกว่า
"ฉันทำดีมาขนาดนี้ ทำไมเธอถึงไม่เห็นความดีฉันบ้าง"
"ทำไมคนนั้นคนนี้ถึงไม่เห็นความดีฉันบ้าง"
"ทำไมคนนั้นคนนี้เขาไม่ศรัทธาเรา"
อย่าว่าแต่ศรัทธาเลย "เขาไม่ฆ่าก็บุญนักหนาแล้ว"
ฟังถึงวันนี้แล้ว ใครที่ไม่ศรัทธาคุณ คุณไม่ต้องไปน้อยใจนะ "เขาไม่ฆ่าคุณก็ดีแล้ว"
โอ๊ย "ต้องขอบคุณที่ไม่ฆ่าเรา"
เพื่อนบ้าง คนในครอบครัวบ้าง คนนั้นคนนี้บ้างที่ทำไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้กับคุณหน่อยเดียว จะเป็นจะตาย มานั่งน้อยใจ เว้าใจ แหว่งใจ "เขาไม่ฆ่าคุณก็ดีแล้ว"
ถ้าคุณเชื่อว่า "คุณชั่วมา" คุณจะไม่โกรธเขาเลย
ขนาดพระพุทธเจ้า พระโมคคัลลา ผู้มีบารมีมาก บําเพ็ญบุญกุศลมามาก ท่านชดใช้วิบากมานับหลายแสนปีแล้วนะ
ฟังแล้วจะซาบซึ้งและหมดสงสัยกับประโยคนี้
"ทำร้ายเขามาตั้งมากตั้งมาย ยังมีหน้ามาโกรธมาเกลียดเขาอีก มันชั่วเกินไปแล้วเรา"
จะได้หมดสงสัยเสียที ฟังดีๆ แล้วจะเลิกโกรธเลิกเกลียดเลิกน้อยใจได้แล้ว เลิกชิงชังรังเกียจคนนั้นคนนี้ได้แล้ว เลิกน้อยใจได้แล้ว จะน้อยใจอะไรอีก
-ทำร้ายเขามาตั้งมากตั้งมาย
"จะนัอยใจอะไรอีก"
"เขาไม่ฆ่าคุณก็ดีนักหนาแล้ว"
"ยังมีหน้ามาโกรธมาเกลียด มานัอยใจเขาอีก"
"ยังมีหน้ามาอยากเอาโน่นเอานี่จากเขาอีก"
"ยังอยากให้เขาทำดีกับเรา "
"มันชั่วเกินไปแล้วเรา"
"เขาไมฆ่าเราก็ดีนักหนาแล้ว
โดนแค่นี้ มันยังไม่เท่ากับเศษวิบากของพระโมคคัลลานะ ท่านถูกสับเป็นชิ้นๆ ท่านไม่เห็นจะโกรธเกลียดใครเลย ท่านก็รู้ว่าท่านทำชั่วมาหนักมาก ทั้งๆ ที่พ่อแม่ก็รักท่านมาก
ท่านก็เลยชัดเจนว่าโจรฆ่าท่านตายนี่ มันยังน้อย...ไป... โดนเท่านี้มันยังน้อยไป มันก็เหมาะสมแล้ว
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าที่โดนน่ะ เหมาะสมแล้วที่โดนฆ่า แต่ไม่ได้เหมาะสมกับที่ท่านเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย แต่ "เหมาะสมแล้ว สมควรแล้ว" จากปางที่ท่านเป็นลูกอกตัญญูที่ฆ่าพ่อแม่เมื่อปางโน้นก็ "สมควรแล้ว"
ฟังให้ดีๆ แล้วไม่ต้องไปโกรธเกลียดใคร อย่าไปน้อยใจ อย่าไปโกรธเกลียด ชิงชังคนโน้นคนนี้อีก ใครมาทำไม่ดีกับเรา เขาไม่ฆ่าเราก็ดีนักหนาแล้ว ต่อให้เขาฆ่าเรา ถ้าเราเลี่ยงไม่ออก ก็ดีนักหนาแล้ว จะได้หมดวิบากชั่วๆ ที่เราโง่ทำมา พลาดทำมา รับแล้วก็หมดไป จะได้โชคดีขึ้น ท่องไว้แค่นี้
-เพราะเราทำมามากกว่านั้น
-เพราะไม่มีใครทำร้ายเราได้ นอกจากความชั่วของเรา ไม่มีใครทำดีกับเราได้ นอกจากความดีของเรา
-เพราะเรามันแสบสุดๆ
เราจึงต้องได้รับสุดๆ
มันจะได้หมดไปสุดๆ
มันจะได้โชคดีสุดๆ
มันจะได้เป็นสุขสุดๆ
ถ้าเรามั่นใจว่าเราทำดี มั่นใจว่าเราทำดี แล้วโดน "มันก็ดีนักหนาแล้ว"
วันนี้ก็น่าจะเลิกน้อยใจได้แล้ว
ฟังให้มันชัด แล้วอย่าไปโกรธเกลียดใครอีกในโลกใบนี้ ขนาดพระพุทธเจ้าหรือ อัครสาวกเบื้องซ้ายยังพลาดเลย เราจะไปเหลืออะไร
-เมื่อมีคนทำไม่ดีกับเราให้
“ยอมเชื่อ” ว่า “ตัวชั่วมา”
“ยอมรับผลชั่ว” ที่ “ตัวทำมา”
ดังนั้น
"อย่าไปโกรธเกลียดใครอีกในโลกใบนี้"
หมอเขียว
ดร.ใจเพชร กล้าจน
8 มกราคม 2561

เป้าหมายทุกเรื่อง ถ้าต้องการให้สำเร็จเร็ว จง "อย่ายึด"
-ยิ่งยึดยิ่งไม่ได้ ยิ่งไม่ยึดยิ่งได้ ยึดเท่าไหร่ๆ ก็จะไม่ได้เท่านั้นๆ
-ยิ่งยึดยิ่งพร่อง ยิ่งยึดยิ่งช้า ยิ่งโง่ ยิ่งทุกข์ เพราะมีวิบากร้าย
-อยากได้ อย่ายึด ถ้ายึด จะไม่ได้
-ยิ่งยึดยิ่งโง่
-ยิ่งยึด เป้าหมายยิ่งสำเร็จช้า ทั้งทางโลกและทางธรรม
-ยิ่งไม่ยึด เป้าหมายยิ่งสำเร็จเร็ว ทั้งทางโลกและทางธรรม
-ยึด จะไม่พ้นกลัว จะไม่พ้นทุกข์ จะไม่ได้สุขยั่งยืน แต่ถ้าไม่ยึด จะพ้นกลัว จะพ้นทุกข์ จะได้ความสุขที่ยั่งยืน
-ยึด ทำให้ "ใจเป็นทุกข์" จะมีวิบากร้ายมาทำลาย ทำให้ไม่สำเร็จหรือสำเร็จช้าหรือสำเร็จเร็วแต่มีเรื่องร้าย เป็นบาป มีวิบากร้ายเจือ ก็ไม่สมบูรณ์ จะสำเร็จความผาสุกทางจิตวิญาณที่ยอดเยี่ยมยั่งยืนช้าที่สุด ทำให้เกิดการบาดเจ็บปวดร้าวทางจิตวิญญาณได้มากที่สุด และเป็นพลังที่ทำให้ตนหรือผู้อื่นทำชั่วได้ทุกเรื่อง
-ไม่ยึด ทำให้ "ใจเป็นสุข" มีวิบากดีมาช่วย ทำให้สำเร็จได้เร็ว เป็นบุญที่เต็มที่สุด ไม่มีวิบากร้ายเจือ จะสำเร็จเร็วที่สุด สมบูรณ์ที่สุด ไม่เกิดการบาดเจ็บปวดร้าวทางจิตวิญญาณ และเป็นพลังที่ทำให้ตนหรือผู้อื่นทำสิ่งดีได้ทุกเรื่องเมื่อถึงเวลาอันควร เป็นบุญกุศลสูงสุด
-ต้องไม่ยึดให้ได้ "จึงจะได้"
อาจารย์หมอเขียว
ดร.ใจเพชร กล้าจน
14 มกราคม 2561
@ทุกอย่างทุกการกระทำมีคลื่นแม่เหล็กที่เหนี่ยวนำให้ผู้อื่นเป็นตาม คลื่นที่ดีจะเติมเต็มกันทั้งหมด คลื่นที่ร้ายก็เติมเต็มกันทั้งหมด
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ธรรมทั้งหลาย ย่อมหลั่งไหลสู่ธรรมทั้งหลาย" (พระไตรปิฎก เล่ม 24 ข้อ 2)
ดังนั้น น้ำย่อมไหลไปสู่น้ำ น้ำมันย่อมไหลไปสู่น้ำมัน
การทำทุกข์ทับถมตน จะไปเติมสนามแม่เหล็กแห่งความทุกข์ในตนและผู้อื่น มีพลังเหนี่ยวนำให้คนอื่นรู้สึกทุกข์ตาม จะทุกข์ไปทำไม ทำชั่วทำทุกข์ทำบาปซ้ำซ้อนไปทำไม
อย่าเอาทุกข์มาทำทุกข์
อย่าเอาทุกข์มาทำพลาด
อย่าเอาพลาดมาทำพลาด อย่าเอาพลาดมาทำทุกข์
จงเอาทุกข์เอาพลาด
มาสร้างสรรพฤติกรรมที่ดีงามผาสุกและเหมาะควรยิ่งๆขึ้นไป
อันเป็นคุณค่าประโยชน์สูงสุดต่อตนและมวลมนุษยชาติ
อาจารย์หมอเขียว
ดร.ใจเพชร กล้าจน
14 มกราคม 2561
@เมตตา คือกัมมัญญา คือชอบในประโยชน์ ชอบในการทำให้เกิดประโยชน์ เป็นสภาพยึดอาศัย คือสมาทาน คือยินดีเพียร ส่วนอุเบกขา คือปภัสรา คือยินดีวาง คือยินดีพัก
-พระอรหันต์เหลือแต่ชอบ กับไม่ชอบไม่ชัง ชอบในประโยชน์เพื่อยึดอาศัย กับชอบในความไม่ยินดียินร้ายเพื่อปล่อยวาง
-ล้างชอบชังมาสู่ความยินดีในการไม่ชอบไม่ชังในสิ่งต่างๆให้ได้ ก็จะได้รางวัลอันยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่ที่สุดในจักวาล คือจะสามารถชอบทุกสิ่งทุกอย่างในมหาจักรวาลได้ เพราะจะมีปัญญาหาเอาประโยชน์ได้ในทุกสิ่งทุกอย่างอย่างถูกหลักการของบุญกุศล ใจจึงเป็นสุขได้ตลอดเวลา
สิ่งดีๆ หรือการทำดี ก็ยึดอาศัยด้วยใจที่เป็นสุขเพราะเป็นประโยชน์
แม้เลี่ยงไม่ออกที่ต้องประสบกับสิ่งร้ายก็ยังมีปัญญาเอาประโยชน์ได้อย่างถูกหลักการของบุญกุศล ใจจึงเป็นสุข
และเมื่อเพียรทำดีที่ทำได้อย่างเต็มที่แล้วถึงเวลาอันเหมาะควรที่ควรวางก็วางได้ด้วยใจที่เป็นสุขเพราะเข้าใจเรื่องกรรมดีกรรมชั่วอย่างแจ่มแจ้ง จึงชอบหรือยินดีในการปล่อยวางให้เป็นไปตามสัจจะคือวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต จึงอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใสสุขสบายใจที่สุดในโลกอย่างยั่งยืน
อาจารย์หมอเขียว
ดร.ใจเพชร กล้าจน
14 มกราคม 2561
ต้องเข้าใจเรื่องกรรมดีกรรมชั่วอย่างแจ่มแจ้งจึงจะล้างชอบชังได้ เมื่อเข้าใจเรื่องกรรมดีกรรมชั่วอย่างแจ่มแจ้งแล้ว ให้ทำ 3 ขั้นตอนคือ
1. ล้างชอบชัง
2. วางความยึดมั่นถือมั่นให้สิ้นเกลี้ยง ว่าสิ่งดีร้ายใดๆจะเกิดจะดับก็ได้ตามวิบากดีร้ายของแต่ละชีวิต
3. แล้วจึงจะยึดก็ได้ วางก็ได้ สบายใจจริง คือยึดอาศัยประโยชน์ในสิ่งต่างๆไม่ว่าจะดีหรือร้าย และวางเมื่อสิ่งนั้นดับไป วางในการทำสิ่งชั่ว ยึดทำดีที่ฟ้าเปิด (สัปปายะ) คือเส้นทางโปร่งโล่งหรือมีอุปสรรคบ้างแต่พอลุยไปได้ ไม่ทำดีหรือวางดีที่ฟ้าปิด (อัตตกิลมถะ) คือ เส้นทางฝืดฝืนเกิน ลำบากเกิน ทรมานเกิน เสียหายเกิน แตกร้าวเกิน
-รู้ไตรลักษณ์ (ความไม่เท่ี่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน) ที่ลึกซึ้งคือรู้จนถึงระดับวิบากกรรม รู้เหตุแห่งทุกข์คือชอบชัง รู้ผลของทุกข์อันเกิดจากชอบชังคือถ้าได้สมชอบชังก็ได้สุขปลอมสุขเทียมเก็บไม่ได้แค่เคยจำไม่มีสาระ รู้ชัดว่าชอบชังจะสั่งสมเป็นวิบากร้ายไล่ล่าโหมกระหน่ำนำความกลัว โรคและเรื่องร้ายมาให้ตนและผู้อื่นตลอดเวลา
-ต้องรู้นามรูป แยกเวทนา 2 ให้ได้
1. ต้องรู้รูปของนามที่ชัดที่สุดคือความรู้สึกสุขทุกข์ในใจว่ากลัวหรือไม่กลัว ทุกข์หรือไม่ทุกข์ เบิกบานหรือไม่เบิกบาน เพราะใจเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง ถ้าใจทุกข์ก็เป็นทุกข์ที่ทุกข์ที่สุดในโลก ถ้าพบทุกข์ใจก็แก้ด้วยการพิจารณาไตรลักษณ์ของกิเลสและประโยชน์ของการไม่มีกิเลส
2. อาการทางร่างกาย สบายหรือไม่สบายกาย ซึ่งก็จะไม่แรงเท่าทุกข์ในจิตที่ยึดมั่นถือมั่น ถ้าพบทุกข์ทางกาย ก็แก้ไขด้วยปรับสมดุลร้อนเย็นหรือวิธีการอื่นๆที่เหมาะสม
ส่วนทุกข์เพราะเหตุการณ์ต่างๆ ถ้าพบปัญหาก็แก้ปัญหาไปตามสถานการณ์
การแก้ทุกข์ทั้งหมดก็ทำควบคู่ไปกับการบำเพ็ญกุศลช่วยเหลือผู้อื่น
-ทุกข์ย่อมไม่ตกถึงผู้ที่เข้าใจ เชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง
-ผู้ที่เข้าใจ เชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง จะเอาทุกข์มาแต่ไหน
-กลัว ชั่ว ทุกข์ คือ โง่
-ปัญญาที่ยังไม่เชื่อ ไม่ชัด ไม่เข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง จึงยังโง่อยู่ ชั่วอยู่ ทุกข์อยู่
-ความเข้าใจในเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง เป็นรหัสเป็นปัญญาที่จำเป็นที่สุด สำคัญที่สุด มีฤทธิ์ที่สุดในการดับทุกข์ ในการคลายความยึดมั่นถือมั่น ในการเข้าสู่ความผาสุกที่แท้จริง
-ความเชืี่อความชัดเรื่องกรรมเท่านั้นจึงจะคลายความยึดมั่นถือมั่นได้
-ความไม่เชื่อไม่ชัดเรื่องกรรมทำให้ยึดมั่นถือมั่นทำให้เป็นทุกข์ ส่วนความเชื่อความชัดเรื่องกรรมทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่นทำให้เป็นสุข
-โศลกพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ที่กล่าวว่า "ทำดียังไม่ได้ดี เพราะทำดียังไม่มากพอ" มี 2 ความหมาย
1. ทำดียังน้อยอยู่
2. ทำดียังไม่บริสุทธิ์มากพอจนถึงขั้นล้างความชอบชัง ล้างความยึดมั่นถือมั่นได้ (อโยนิโสมนสิการ-ยังทำการล้างเหตุแห่งทุกข์ไม่แยบคายจนถึงจิตที่ถูกตรง)
อาจารย์หมอเขียว
ดร.ใจเพชร กล้าจน
14 มกราคม 2561

วาทะแห่งปี 2561

#วาทะแห่งปี 2561

จากใจครูสู่ลูกศิษย์
คำตอบของชีวิต
คู่มือดับทุกข์
"คำคมเพชรจากใจเพชร" คือ คำคมที่มีความคมในการตัดทุกข์ เป็นคำที่ทำให้กลัว ชั่ว ทุกข์ในใจตาย ทำให้เกิดดีแท้ๆและสุขแท้ๆ อันยอดเยี่ยมยั่งยืน
จาก อาจารย์หมอเขียว
ดร.ใจเพชร กล้าจน
@แต่ละชีวิตจะมีสภาพ
ทุกข์เท่าที่โง่ โง่เท่าที่ทุกข์
โกรธเท่าที่โง่ โง่เท่าที่โกรธ
โลภเท่าที่โง่ โง่เท่าที่โลภ
ยึดเท่าที่โง่ โง่เท่าที่ยึด
กลัวเท่าที่โง่ โง่เท่าที่กลัว
ชั่วเท่าที่โง่ โง่เท่าที่ชั่ว
ไม่ทุกข์เท่าที่ฉลาด ฉลาดเท่าที่ไม่ทุกข์
ไม่โกรธเท่าที่ฉลาด ฉลาดเท่าที่ไม่โกรธ
ไม่โลภเท่าที่ฉลาด ฉลาดเท่าที่ไม่โลภ
ไม่ยึดเท่าที่ฉลาด ฉลาดเท่าที่ไม่ยึด
ไม่กลัวเท่าที่ฉลาด ฉลาดเท่าที่ไม่กลัว
ไม่ชั่วเท่าที่ฉลาด ฉลาดเท่าที่ไม่ชั่ว
@ในโลกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรที่เราควบคุมได้
ไม่มีอะไรที่เรากำหนดไ้ด้
นอกจากใจที่ไม่ทุกข์ของเราเท่านั้น ที่เรากำหนดได้
@คนโง่ไม่มีปัญญาที่พาพ้นทุกข์ จะไม่มีศรัทธาและศีลที่ถูกตรง
ส่วนคนที่มีศรัทธาและศีลที่ถูกตรง ก็จะมีปัญญาที่พาพ้นทุกข์
และคนที่มีปัญญาที่พาพ้นทุกข์ ก็จะศรัทธาและศีลที่ถูกตรง
@คนมีปัญญา จะไม่มีปัญญาหาเหตุผลให้ตนกลัว ชั่ว ทุกข์ แต่จะมีปัญญาหาเหตุผลให้ตนพ้นกลัว พ้นชั่ว พ้นทุกข์
@คนไม่มีปัญญา จะมีปัญญาหาเหตุผลให้ตนกลัว ชั่ว ทุกข์ แต่จะไม่มีปัญญาหาเหตุผลให้ตนพ้นกลัว พ้นชั่ว พ้นทุกข์
@ในโลกนี้ ไม่มีอะไรสำคัญเท่า "การดับทุกข์ใจให้ได้"
@เมื่อมีคำถามว่า "ตัั้งใจทำดี ทำไมถึงได้เท่านี้?"
ให้ตอบว่า "เพราะทำชั่วมามาก"
เมื่อถามต่ออีกว่า
"แล้วจะทำอย่างไรดี"
ให้ตอบว่า "จงมีความสุขกับการทำดีเรื่อยไป ใจเย็นข้ามชาติ"
@เมื่อเกิดเรื่องที่เรารู้สึกไม่ดี โดยสัจจะแสดงว่า เราทำหรือส่งเสริมสิ่งผิดสิ่งไม่ดีมา ในชาตินี้หรือชาติก่อนๆ เมื่อทำผิดแล้วไม่ยอมรับผิด จะเป็นวิบากร้ายใหม่ที่ทำให้
วิบากร้ายเก่าที่รับก็ไม่มีวันหมดเกลี้ยงได้ง่าย ไม่มีวันหมดเกลี้ยงได้เร็ว แต่จะหมดเกลี้ยงได้ยาก และหมดเกลี้ยงได้ช้า และวิบากร้ายใหม่ก็จะเพิ่มอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
@การไม่สารภาพผิดจะเพิ่มฤทธิ์วิบากร้าย แต่การสารภาพผิดลดฤทธิ์วิบากร้าย เพิ่มฤทธิ์วิบากดี
@คนโง่เท่านั้นที่ไม่ยอมรับผิด ไม่ยอมสารภาพผิด ไม่ยอมสำนึกผิด
@การยอมรับความจริงตามความเป็นจริง ด้วยการ
สำนึกผิด สารภาพผิด ยอมรับผิด เต็มใจรับโทษ ขอโทษ ขออโหสิกรรม ตั้งจิตหยุดสิ่งที่ไม่ดี ตั้งจิตทำสิ่งที่ดี คือลดกิเลสและช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยความยินดีจริงใจ เป็นสุดยอดแห่งพลังความดี ที่ทำให้
1. ใจไม่ทุกข์
2. ดันเรื่องร้ายออกไปได้มากที่สุด
3. ดูดสิ่งดีเข้ามาสู่ชีวิตได้มากที่สุด
4. รับร้ายแล้วร้ายก็หมดไป เราก็จะโชคดีขึ้น
5. ได้เป็นตัวอย่างที่ดีที่ถูกตรงสู่ความพ้นทุกข์เพื่อประโยชน์สุขที่แท้จริงอันยอดเยี่ยมยั่งยืนที่สุดต่อตนและมวลมนุษยชาติ
เป้าหมายทุกเรื่อง ถ้าต้องการให้สำเร็จเร็ว จง "อย่ายึด"
-ยิ่งยึดยิ่งไม่ได้ ยิ่งไม่ยึดยิ่งได้ ยึดเท่าไหร่ๆ ก็จะไม่ได้เท่านั้นๆ
-ยิ่งยึดยิ่งพร่อง ยิ่งยึดยิ่งช้า ยิ่งโง่ ยิ่งทุกข์ เพราะยึดคือวิบากร้าย
-อยากได้ อย่ายึด ถ้ายึด จะไม่ได้
-ยิ่งยึด ยิ่งโง่ ยิ่งซวย
-ยิ่งยึด เป้าหมายยิ่งสำเร็จช้า ทั้งทางโลกและทางธรรม
-ยิ่งไม่ยึด เป้าหมายยิ่งสำเร็จเร็ว ทั้งทางโลกและทางธรรม
-ยึด จะไม่พ้นกลัว จะไม่พ้นทุกข์ จะไม่ได้สุขยั่งยืน แต่ถ้าไม่ยึด จะพ้นกลัว จะพ้นทุกข์ จะได้ความสุขที่ยั่งยืน
-ยึด ทำให้ "ใจเป็นทุกข์" จะมีวิบากร้ายมาทำลาย ทำให้ไม่สำเร็จหรือสำเร็จช้าหรือสำเร็จเร็วแต่มีเรื่องร้าย เป็นบาป มีวิบากร้ายเจือ ผลไม่สมบูรณ์ จะสำเร็จความผาสุกทางจิตวิญาณที่ยอดเยี่ยมยั่งยืนช้าที่สุด ทำให้เกิดการบาดเจ็บปวดร้าวทางจิตวิญญาณได้มากที่สุด และเป็นพลังที่ทำให้ตนหรือผู้อื่นทำชั่วได้ทุกเรื่อง
-ไม่ยึด จะทำให้ "ใจเป็นสุข" จะมีวิบากดีมาช่วย ทำให้สำเร็จได้เร็ว เป็นบุญที่เต็มที่สุด ไม่มีวิบากร้ายเจือ จะสำเร็จเร็วที่สุด สมบูรณ์ที่สุด ไม่เกิดการบาดเจ็บปวดร้าวทางจิตวิญญาณ และเป็นพลังที่ทำให้ตนหรือผู้อื่นทำสิ่งดีได้ทุกเรื่องเมื่อถึงเวลาอันควร เป็นบุญกุศลสูงสุด
-ต้องไม่ยึดให้ได้ "จึงจะได้"
-ทุกข์ย่อมไม่ตกถึงผู้ที่เข้าใจ เชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง
-ผู้ที่เข้าใจ เชื่อและชัดเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง จะเอาทุกข์มาแต่ไหน
-คนที่เชื่อและชัดเรื่องกรรมจะไม่ทำชั่ว จะทำแต่ดี
-คนไม่เชื่อไม่ชัดเรื่องกรรมจะทำชั่ว
-คนที่ยังไม่เชื่อ ไม่ชัด ไม่เข้าใจเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง จะยังโง่อยู่ ชั่วอยู่ ทุกข์อยู่ "กลัว ชั่ว ทุกข์ คือโง่"
-ความเข้าใจในเรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้ง เป็นรหัสเป็นปัญญาที่จำเป็นที่สุด สำคัญที่สุด มีฤทธิ์ที่สุดในการดับทุกข์ ในการคลายความยึดมั่นถือมั่น ในการเข้าสู่ความผาสุกที่แท้จริง
-ความเชืี่อความชัดเรื่องกรรมเท่านั้นจึงจะคลายความยึดมั่นถือมั่นได้
-ความไม่เชื่อไม่ชัดเรื่องกรรมทำให้ยึดมั่นถือมั่น ทำให้เป็นทุกข์ ส่วนความเชื่อความชัดเรื่องกรรมทำให้ไม่ยึดมั่นถือมั่น ทำให้เป็นสุข
-สุขจากการให้ด้วยใจที่บริสุทธิ์ ยอดเยี่ยมยิ่งใหญ่กว่าการเอา
-สุขจากให้ด้วยใจที่บริสุทธิ์ สุขสบายใจที่สุดในโลก เป็นสุขที่สุขที่สุดในโลก
"คุกที่แท้จริง คือ กิเลส
เป็นทุกข์ตัวแท้ที่คอยกักขัง ความทุกข์และความชั่วในใจคน"
"ทำดีทุกครั้ง "ชนะทุกครั้ง"
"ทุกอย่างล้มเหลวได้ แต่ "ใจ" ล้มเหลวไม่ได้"
"ปัญหา คือ เครื่องมือฝึกใจที่ดีที่สุดในโลก"
"ปัญหาไม่เคยหมดไปจากชีวิตของเรา มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่หมดไปจากใจของเรา"
"โจทย์ทุกโจทย์ เหตุการณ์เหตุการณ์ เป็นเครื่องมือฝึกจิตของเรา ให้เป็นสุขอย่างถูกต้องตามธรรม"
"เจอผัสสะไม่ดี ได้โชค 3 ชั้น คือ ได้เห็นทุกข์ ได้ล้างทุกข์ และได้ใช้วิบากกรรมเก่าที่ไม่ดี ร้ายนั้นก็จะหมดไป ดีก็จะออกฤทธิ์ได้มากขึ้น"
"เกิดเป็นคน ต้องฝึกยิ้มรับสิ่งดีสิ่งร้ายให้ได้ ด้วยใจที่เป็นสุข"
"คุณค่าและความผาสุกของการเป็นคน คือ การพึ่งตนและช่วยเหลือคนให้พ้นทุกข์"
"แก้ปัญหาทุกข์ของชีวิตเราได้ ก็จะสามารถช่วยแก้ทุกข์ของผู้อื่นได้"
"ถ้าชนะความ "กลัวตาย" "กลัวโรค" เร่งผล" กังวล ได้ อย่างอื่นง่ายหมด"
"คนที่ทำงานลงตัวตลอดไม่มีปัญหาใดๆ คือ คนที่ซวยที่สุดในโลก"
"ทำดีถูกด่าให้ได้ ถูกแกล้งให้ได้ ถูกนินทาให้ได้ ถูกว่าให้ได้ ถูกเข้าใจผิดให้ได้ ถูกทำไม่ดีสารพัดเรื่องให้ได้ เพราะเราทำมาทั้งนั้น"
"ทำดีแล้ว ยังถูกเรื่องร้ายวิบากบาปเล่นงานหนัก แสดงว่าชาติก่อนเราทำบาปมาก เราแสบมาก เราแสบสุดๆ มันก็จะต้องรับสุดๆ มันจะได้หมดไปสุดๆ เราจะได้เป็นสุขสุดๆ"
"อย่าสร้างความสุขให้กับตน ด้วยการสร้างความทุกข์ให้กับผู้อื่น"
"ถามว่า เกิดมาทำไม
ตอบ เกิดมาเพื่อฝึกฝนการสร้างความผาสุกที่แท้จริงให้กับตนเองและผู้อื่น"
"ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ดีที่สุดแล้ว" (Everything happened for the best)
"ความสุขแท้ คือไม่ทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดอะไร ในสถานการณ์ใด"
"ชีวิตที่มั่นคง คือ ชีวิตที่ให้และเสียสละอย่างแท้จริง"
"จงทำดีเต็มที่ เหนื่อยเต็มที่ สุขเต็มที่ ไม่มีอะไรคาใจ ไม่เอาอะไร คือ สุดยอดแห่ง ความอิ่มเอิบ เบิกบานแจ่มใส"
อาจารย์หมอเขียว
ดร.ใจเพชร กล้าจน
๑๗ มกราคม ๒๕๖๑