วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ทำทุกสิ่งทุกอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด(6)

เรามีหน้าที่ทำทุกสิ่งทุกอย่างให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามบาปบุญของเราและโลกเพื่อให้เราและโลกได้อาศัยก่อนที่ทุกอย่างจะดับไปเท่านั้น แต่ถ้าเราโกรธทำรุนแรงกับฝ่ายตรงกันข้าม ทั้งฝ่ายเราและเขาก็จะโกรธแค้นทำร้ายกันไปมา ไม่มีฝ่ายใดปลอดภัย ไม่มีฝ่ายใดเป็นสุข ตรงกันข้ามถ้าเราชนะความโกรธของเราได้ก็จะนำความผาสุกมาสู่ผองชนทุกฝ่าย เป็นต้น ใช้เทคนิคการตัดสิ่งที่เป็นพิษด้วยจิตที่เป็นสุข คือ พิจารณาความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์โทษภัยผลเสีย และความไม่มีตัวตนแท้ ของการกระทำทางกายวาจาใจหรือการเสพติดยึดสิ่งที่เป็นโทษภัยนั้นๆ จะทำให้หลุดพ้นจากการติดยึดในเหตุแห่งทุกข์นั้น(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๗ ข้อ ๘๔-๘๖) พิจารณาประโยชน์ของการไม่เสพไม่ติดไม่ยึดไม่กระทำทางกายวาจาใจในสิ่งที่เป็นโทษภัยนั้นๆหันมาทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แทน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์” (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๑ ข้อ ๔๒) โดยพิจารณาซ้ำๆหลายครั้งดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “การทบทวนธรรมทำให้หลุดพ้นจากทุกข์”(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ ข้อ ๒๖) “คนจะพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร”(พระไตรปิฎก เล่ม ๑๐ ข้อ ๒๐๐) จนพลังติดยึดในสุขลวงสุขชั่วคราวสุขไม่ยั่งยืนของกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์จริงนั้นถูกทำลาย จนเกิดความรู้สึกสุขที่แท้จริงขึ้น เป็นความสุขสบายใจที่ไม่ต้องสร้างภัยใส่ชีวิตตนเองและผู้อื่น เป็นความสุขสบายใจที่จะได้ใช้ชีวิตตนทำประโยชน์แท้ต่อตนเองและผู้อื่น โดยทำอย่างรู้เพียรรู้พักไปเรื่อย (พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๒) นี้คือเทคนิคการเพิ่มอธิศีลซึ่งเป็นวิถีทางที่ทำให้ชนะได้เร็วที่สุด
ถ้าระบอบทักษิณมีอำนาจเขาจะบังคับหรือหลอกใช้ประชาชนหรือข้าราชการทุกหมู่เหล่ารวมถึงองค์กรอิสระด้วยอามิสสินจ้างรางวัลให้ทำชั่วตามที่ระบอบทักษิณต้องการ และด้วยนิสัยใจดำอำมหิตโหดร้ายของเขา เมื่อผู้ที่ทำงานให้ระบอบทักษิณนั้น รู้ความลับที่ไม่ดีของเขามากๆ เขาจะฆ่าปิดปากเพื่อป้องกันการเปิดเผยความชั่วของเขา หรือผู้ที่ถูกบังคับหรือหลอกใช้นั้น ก็จะหาทางฆ่าเขาก่อนเพื่อป้องกันการถูกฆ่าปิดปาก สถานการณ์ดังกล่าว จะทำให้ประชาชน ข้าราชการทุกหมู่เหล่า องค์กรอิสระ รวมทั้งคนในระบอบทักษิณ ก็จะตกอยู่ในภาวะอันตรายด้วยกันทั้งหมด โดยเฉพาะทุกคนในระบอบทักษิณเองก็ต้องระวังภัยจากการเข่นฆ่าเพื่อแย่งชิงอำนาจกันเอง เป็นอันตรายต่อกลุ่มเขาเองอีกด้านหนึ่ง เพราะทุกคนต่างมีกิเลสหลงใหลในอำนาจ ลาภ ยศ สรรเสริญ กาม เกียรติ เป็นต้น ระบอบกิเลสดังกล่าวทุกฝ่ายจึงยากที่จะอยู่เย็นเป็นสุขได้ สุดท้ายของระบอบทักษิณที่เต็มไปด้วยกิเลสผิดศีลธรรมจะทำลายตนเองจนพินาศ(จักวัตติสูตร) โดยที่ประชาชนคนดีที่ได้พยายามช่วยเหลือสังคมไม่ให้เดือดร้อนอย่างเต็มที่แล้ว ถ้าช่วยไม่ได้ก็จะดำรงชีวิตอย่างปลอดภัยอยู่ในกลุ่มของตัวเอง ปล่อยให้สังคมแห่งกิเลสทำลายตนเองจนพินาศไป แล้วค่อยสร้างสังคมที่ดีงามใหม่สืบไป
 สถานการณ์ของคนที่ร่วมกับระบอบทักษิณจะเป็นเหมือนคนที่หลงไปทำงานในหมู่โจรแล้วยังไม่สามารถออกมาได้ รวมถึงยิ่งลักษณ์ ชินวัตรด้วย ที่ต้องทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสกว่าคนอื่นๆ แต่ก็ไม่สามารถออกจากระบอบทักษิณได้ คนอื่นๆในระบอบทักษิณก็ตกอยู่ในชะตากรรมเช่นเดียวกัน คือ จะอยู่ต่อก็เสี่ยงต่อการถูกดำเนินการทางกฎหมาย กฎสังคม กฎแห่งกรรม หรือถูกฆ่าปิดปากป้องกันความลับที่ไม่ดีรั่วไหล จะเลิกราออกมาก็เสี่ยงต่อการถูกฆ่าปิดปาก พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าอย่าคบคนชั่วจะนำทุกข์มาให้ และทางพ้นทุกข์นั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าคบคนชั่วให้คบคนดี(อวิชชาสูตร) ดังนั้นทางที่ดีต้องหาทางเลิกราออกมา จะเสี่ยงด้านเดียวคือเสี่ยงต่อการถูกฆ่าปิดปาก แต่ก็อาจรอดได้ และโทษภัยจะได้น้อยลงทุกวันๆ ถ้าทำดีมากๆพระพุทธเจ้าตรัสว่ากุศลสามารถทำให้อกุศลเบาบางได้ แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มไม่ดีต่อไปก็มีแต่อันตรายรอบด้านที่มากขึ้นทุกวันๆ
พระพุทธเจ้าพบสัจจะว่าสรรพสิ่งในมหาจักรวาลสัมพันธ์กันด้วยหลักนิยาม 5 ปฎิจจสมุปบาท(อนุโลม) 11 การดับทุกข์ที่ต้นเหตุจะทำให้ทุกข์ดับและเกิดความสุขขึ้น ด้วยการปฏิบัติในหมู่มิตรดีสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดีเป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของการพ้นทุกข์ อรรถกถาแปล เล่ม 76 หน้า 81 นิยาม 5 อย่าง คือ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยาม สำหรับปฎิจจสมุปบาท(อนุโลม) 11 คือ การอาศัยกันและกันเกิดขึ้น (เป็นไปตามลำดับ) เพราะอวิชชา (ความหลงผิดไม่รู้กิเลส) เป็นปัจจัย (เหตุ) จึงมี สังขาร (สภาพปรุงแต่งกายวาจาใจสังขาร จึงมี วิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์จิตวิญญาณ จึงมี นามรูป (ตัวรู้และตัวถูกรู้นามรูป จึงมี สฬายตนะ (สื่อติดต่อ ๖ อย่าง คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจสฬายตนะ จึงมี ผัสสะ (สัมผัสผัสสะ จึงมี เวทนา (ความรู้สึก)เวทนา จึงมี ตัณหา (ความดิ้นรนปรารถนาตัณหา จึงมี อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่นอุปาทาน จึงมี ภพ (ที่อาศัยภพ จึงมี ชาติ (การเกิดชาติ จึงมี ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย) โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (คร่ำครวญรำพัน) ทุกข์ (ไม่สบาย) โทมนัส (เสียใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ)กองทุกข์ทั้งมวลนั้นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้ (พระไตรปิฎก เล่ม 4“มหาขันธกะข้อ 1) ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง (พระไตรปิฎก เล่ม25 ข้อ 59), ละทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นความสุข (พระไตรปิฎก เล่ม 25 ข้อ 33) พระไตรปิฎก เล่ม 19 ข้อ 5 อุปัฑฒสูตร ความเป็นผู้มีมิตรดีสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดีเป็นพรหมจรรย์(ความพ้นทุกข์)ทั้งสิ้น
จากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าดังกล่าว จะเห็นได้ว่า สิ่งที่หมุนวนสัมพันธ์กันในมหาจักรวาลเริ่มต้นจากอุตุนิยาม คือ วัตถุและพลังงาน เช่น ดินน้ำลมไฟ พลังงานความร้อนเย็น แม่เหล็ก ไฟฟ้า แสง สี เสียง คลื่น เป็นต้น เคลื่อนผสมผสานสังเคราะห์กันตามหลักวิทยาศาสตร์ คือ พลังงานร้อนเย็นเคลื่อนผสมผสานสังเคราะห์กันเป็นธาตุใหม่ พัฒนาเป็นพีชนิยาม คือ สิ่งมีชีวิตระดับพืช อุตุกับพีชสังเคราะห์กันพัฒนาต่อเป็นจิตนิยาม คือ สิ่งมีชีวิตระดับสัตว์ ตั้งแต่สัตว์ชั้นต่ำพัฒนาขึ้นไปเป็นลำดับจนเป็นสัตว์ชั้นสูงคือคน ชีวิตระดับจิตนิยาม จะมีการกระทำและผลของการกระทำ(วิบากกรรม)ของแต่ละชีวิต คือ กรรมนิยาม และพัฒนาไปสู่การกระทำที่ส่งผลที่ดีที่สุดต่อตนเองและผู้อื่น คือ ธรรมนิยาม ซึ่งนิยาม 5 นั้น จะสังเคราะห์สัมพันธ์กันเป็นเหตุแห่งทุกข์ตามลำดับด้วยหลักปฎิจจสมุปบาท(อนุโลม) 11 เกิดเป็นกองทุกข์ทั้งมวล และเมื่อดับเหตุแห่งทุกข์ในหมู่มิตรดีสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดีก็จะทำให้ทุกข์ดับซึ่งก็คือความเป็นสุขนั้นเอง
โดยหลักวิทยาศาสตร์แล้วเมื่อวัตถุทุกอย่างแตกสลายจะกลายเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าสังเคราะห์รวมกันจะเป็นวัตถุ เป็นสภาพแปรเปลี่ยนหมุนวนไปมาตราบชั่วกาลนาน ซึ่งตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทุกอย่างไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่มีตัวตน (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๗ ข้อ ๘๔-๘๖) จะเห็นได้ว่า ส่วนประกอบหลักของมหาจักวาลประกอบด้วยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า พัฒนาจนเป็นชีวิตคน แสดงว่าชีวิตคนเป็นพลังแม่เหล็กไฟฟ้า พระพุทธเจ้าพบว่า “ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีอยู่” (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ มหาจัตตารีสกสูตรข้อ ๒๕๗) “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวความที่กรรม(การกระทำ)อันเป็นไปด้วยสัญเจตนา(ความจงใจ) ที่บุคคลทำแล้ว สะสมแล้วจะสิ้นสุดไป เพราะมิได้เสวยผล แต่กรรม(การกระทำ)นั้นแล จะให้ผลในทิฏฐธรรมเทียว(ภพนี้) หรือในภพถัดไป หรือในภพอื่นสืบๆ ไป” (พระไตรปิฎก เล่ม 37 ข้อ 1698) ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เมื่อคนกระทำสิ่งใดทางกายวาจาใจ(กายกรรมวจีกรรมมโนกรรม) ดีหรือชั่วก็ตาม ก็จะสั่งสมเป็นวิบากกรรมดีหรือชั่วตามนั้น วิบากกรรมคือพลังที่สร้างผลดีหรือร้ายให้กับแต่ละชีวิต ในภพชาตินี้ หรือภพชาติอื่นๆสืบไป เมื่อจิตวิญญาณเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าแห่งชีวิตที่ไปได้ไกล (ทูรังคมัง) (พระไตรปิฎกเล่ม ๙ เกวัฏฏสูตรข้อ ๓๕๐) จึงสามารถดูดดึงชีวิตวัตถุหรือพลังงานต่างๆซึ่งส่วนประกอบหลักคือแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นมาสังเคราะห์เป็นสิ่งดีหรือร้ายสู่ชีวิต รวมทั้งดูดดึงสิ่งที่มีคุณสมบัติแบบเดียวกันเข้ามาหากัน เพราะทุกอย่างในมหาจักรวาลมีพลังแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบ
พระพุทธเจ้านั้นบำเพ็ญต่อสู้กับความเลวร้ายของคนในโลกด้วยเมตตาปรารถนาให้เกิดสิ่งที่ดีแท้กับทุกฝ่ายทั้งดีและไม่ดี ใช้เวลาบำเพ็ญถึงสี่อสงไขหนึ่งแสนกัป คือ เกิดตายๆนับล้านปีไม่ถ้วน บางปางในอดีตชาติที่พระองค์บำเพ็ญความดี ก็ถูกคนร้ายฆ่าตาย แต่ชีวิตอันคือจิตวิญญาณของพระองค์ไม่เคยตายไปจากความดี แต่พลังความดีแห่งมหากุศลนั้นกลับเกิดเบ่งบานในชีวิตจิตวิญาณของพระองค์มากยิ่งขึ้นๆ ขณะเดียวกันพลังความดีนั้นได้แผ่ไพศาลไปถึงจิตวิญญาณดวงอื่นๆให้เกิดมีพลังแห่งความดีมากยิ่งขึ้นๆ เป็นแบบอย่างของความดีงามที่น่าเคารพศรัทธาชื่นชมอิ่มเอิบและภาคภูมิใจยิ่งอย่างแท้จริงต่อผู้ที่บำเพ็ญความดีนั้นและผู้ที่รับรู้เรื่องราวนั้น บำเพ็ญด้วยความแกล้วกล้าอาจหาญแต่ไม่กร่าง แข็งแกร่งแต่ไม่แข็งกระด้าง อ่อนน้อมอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ กล้าแต่   ไม่บ้าบิ่น ไม่ประมาทใช้ปัญญาระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำดีอย่างรอบคอบระมัดระวังแต่ก็ไม่ระแวงจนกลัวจนทุกข์ เพราะมีปัญญารู้ว่าไม่มีอะไรเป็นประโยชน์สุขสูงสุดต่อตนเองและผู้อื่นเท่ากับการทำความดีให้ได้มากที่สุด เมื่อได้พยายามทำดีอย่างเต็มที่แล้วด้วยความรอบคอบระมัดระวังที่สุดที่จะไม่ให้เกิดอันตรายเท่าที่จะทำได้ ถ้าเกิดสิ่งเลวร้ายต่อตนเองหรือผู้อื่น ก็รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นวิบากกรรมที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ต้องรับอยู่แล้ว รับแล้วสิ่งเลวร้ายนั้นก็จะหมดไปจากชีวิตนั้น สิ่งดีงามก็จะยิ่งส่งผลดีงามได้มากเพราะไม่มีพลังเลวร้ายนั้นมาต้าน ถ้ารับวิบากร้ายในขณะที่ทำความดี วิบากร้ายก็จะหมดไปพร้อมกับวิบากดีที่เกิดขึ้นส่งผลที่ดีต่อตนเองและผู้อื่นสืบไป เป็นชีวิตที่ประเสริฐมีคุณค่าประโยชน์แท้ ซึ่งต่างจากการรับวิบากร้ายโดยไม่ทำความดีอะไรหรือเลือกทำความดีที่น้อยกว่าทั้งๆที่มีโอกาสมีความสามารถในการทำความดีที่มากกว่าได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นมากกว่า บางทีวิบากดีที่ผู้นั้นตัดสินใจทำกลับช่วยลดวิบากร้าย ณ เวลานั้นได้ด้วยซ้ำ ถ้าวิบากร้ายนั้นไม่แรงเกินไปก็จะปลอดภัยหรือได้รับวิบากร้ายน้อยกว่าที่เคยทำมา พระพุทธองค์จึงพากเพียรบำเพ็ญต่อเนื่องชาติแล้วชาติเล่าอย่างไม่ย่อท้อ เพื่อช่วยให้มนุษย์ที่ยังมีกิเลสความเลวร้ายอยู่ในจิตวิญญาณอันเป็นภัยต่อตนเองและผู้อื่นนั้น สามารถทำลายความเลวร้ายในตนจนเกิดจิตวิญญาณที่ดีงามที่ทำประโยชน์สุขที่แท้จริงต่อตนเองและผู้อื่น จนได้ตรัสรู้เป็นพุทธเจ้ามหาบุรุษแห่งจักรวาลผู้เป็นที่พึ่งแท้ของมนุษยชาติ
เราทั้งผองพี่น้องกัน เจริญธรรมสำนึกดีครับ
หมอเขียว : ใจเพชร กล้าจน
๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๖

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น